ES Power

บริษัท อี เอส เพาเวอร์ จำกัด

จากวิกฤตการณ์น้ำมันในปี 2546 รัฐบาลได้ออกนโยบายพลังงานทดแทนโดยรณรงค์ให้ผลิตและใช้พลังงานทดแทนจากพืชเกษตร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง และปาล์ม เป็นต้น ซึ่งในเวลานั้นบริษัท อี เอส เพาเวอร์ จำกัด เป็นหนึ่งในบริษัทที่ทำการยื่นขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตเอทานอลเพื่อเป็นพลังงานทดแทนตามนโยบายรัฐ  โดยเห็นว่าบริษัทมีวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลเป็นของตัวเอง โดยลงทุนด้วยงบ 1,000 ล้านบาท และเลือกใช้เทคโนโลยีผสมของ Alfa Laval ประเทศสวีเดน กับ Delta-T ประเทศสหรัฐอเมริกา  และการออกแบบจาก Alfa Laval ประเทศอินเดีย  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีผลิตเอทานอลเพื่อพลังงานแบบต่อเนื่องสมบูรณ์แบบ (fully continuous) เป็นแห่งแรกของประเทศไทย อีกทั้งระบบยังสามารถที่จะเลือกใช้วัตถุดิบเพื่อการผลิตได้หลายชนิด รวมทั้งวัตถุดิบประเภทแป้งนอกจากนี้ บริษัทฯ ยังตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยได้ลงทุนอีก 120 ล้านบาท เพื่อให้ได้ระบบ ZERO DISCHARGE โดยได้ว่าจ้างบริษัท Clean Thai Development จำกัด เป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างภายใต้การดำเนินการของ บริษัท อีเอส ไบโอเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด เนื่องจากเป็นโครงการที่ให้ความสำคัญต่อสภาพแวดล้อมสูง บริษัท อีเอส ไบโอเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด จึงได้นำโครงการเข้าระบบ CDM (ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ)

โรงงานผลิตเอทานอลคาดว่าจะแล้วเสร็จ และเริ่มดำเนินการผลิตเอทานอลออกสู่ตลาดได้ภายในกันยายน 2551 นี้

เนื่องจากความต้องการของตลาดพลังงานเอทานอลในประเทศยังมีปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับกำลังการผลิตของโรงงานผลิตเอทานอลทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบัน  และภายในปี 2551 ที่กำลังจะเปิดดำเนินการอีก 3 แห่งรวมทั้งของบริษัท อี เอส เพาเวอร์ จำกัด ด้วย  ทำให้บริษัทฯ มีนโยบายที่จะส่งออกเอทานอลส่วนที่เกินจากความต้องการในประเทศไปยังประเทศเพื่อนบ้าน แต่ยังมีความคาดหวังว่า รัฐบาลจะมีมาตรการและมีกฎหมายที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้เอทานอลอย่างกว้างขวาง ไม่เฉพาะจำกัดเพียงการใช้กับเครื่องยนต์เบนซินเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนหลักของระบบขนส่ง  และให้มีนโยบายและกฎระเบียบต่างๆ ที่เอื้อให้เกิดความสะดวกในการส่งออกไปขายยังต่างประเทศ เพื่อการนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางส่งออกเอทานอลของภูมิภาคเอเชียในอนาคตต่อไป