แมลงศัตรูในดิน

  1. ด้วงหนวดยาวอ้อย เป็นด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ระยะวางไข่ในดิน 11 - 27 วัน ตัวหนอนมีอายุนาน แบ่งเป็น 2 ชนิด
    • ชนิด 1 ปี  มีอายุ 262 - 358 วัน
    • ชนิด 2 ปี  มีอายุ 365 - 613 วัน
    ระยะดักแด้ : 9 - 16 วัน
    ระยะตัวเต็มวัย : เพศผู้มีอายุ 7 - 20 วัน
    : เพศเมียมีอายุ 7 - 16 วัน (ตัวเมีย 1 ตัว วางไข่ได้ 41 - 441 ฟอง)

    สาเหตุการระบาด

    1. อากาศแห้งแล้ง
    2. แปลงปลูกอ้อยเป็นดินร่วนปนทราย

    ฤดูการระบาด
    ตลอดทั้งปีแต่เห็นชัดเจนช่วงอ้อย  1 - 3 เดือน  และในช่วงตัดอ้อยเข้าโรงงาน

    ลักษณะการทำลาย
    1. อ้อยแห้งตาย
    2. มีรูเจาะที่ลำอ้อย

    การสุ่มตัวอย่าง

    1. การสุ่มแบบเส้นทแยงมุม
    2. การสุ่มแบบซีเควนเชียล

    ระดับเศรษฐกิจ

    1. พบหนอนเฉลี่ย 1.4  ตัวต่อความยาว 1 เมตร
    2. เปอร์เซ็นต์กอถูกทำลาย  24%

    ศัตรูธรรมชาติ

    1. สุนัข. นก. ไก่ ช่วยกินหนอน
    2. เชื้อรา Meterrhizium  sp.
    3. ไร Caloglyphus  sp.
    4. ไส้เดือนฝอย

    ความสูญเสีย

    1. อ้อยปลูก  ผลผลิตอ้อยลดลง 13 - 43 เปอร์เซ็นต์
      น้ำตาลลดลง 11 - 46 เปอร์เซ็นต์
    2. อ้อยตอ ผลผลิตลดลง 54 เปอร์เซ็นต์
      น้ำตาลลดลง 57 เปอร์เซ็นต์

    การป้องกันกำจัด

    1. ใช้กับดักหลุมในช่วงตัวเต็มวัยระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน ได้ผล 80%
    2. เดินเก็บหนอนในขณะไถได้ผล 60 - 70%
    3. ไถหลาย ๆ ครั้งเพื่อให้ศัตรูธรรมชาติเข้าทำลาย
    4. การใช้สารฆ่าแมลงตอนปลูก

    คุณค่าทางอาหาร

    ความชื้น (%) โปรตีน (%) ไขมัน (%)
    เนื้อวัว 66.0 18.8 14.6
    เนื้อหมู 50.0 14.1 35.0
    เนื้อเป็ด 54.3 16.0 28.6
    เนื้อไก่อ่อน 66.0 20.2 12.6
    ด้วงหนวดยาว 59.9 26.5 42.4
  2. แมลงนูนหลวง
    ไข่  =  15 - 28 วัน
    หนอน  =  240 - 270 วัน
    ดักแด้  =  60  วัน
    ตัวเต็มวัย  =  15 - 20 วัน
    วงจรชีวิต  9 -12  วัน

    พืชอาหารที่สำคัญ
    อ้อย, มันสำปะหลัง, ตะไคร้

    ลักษณะการทำลาย
    พบในดินสภาพ pH 6 - 6.5 อินทรียวัตถุ 0.58 - 0.84% แมลงนูนกัดกินรากอ้อยทำให้อ้อยชะงักการเจริญเติบโต หักล้มง่าย

    การแำพร่กระจาย
    ชลบุรี  ระยอง กำแพงเพชร กาญจนบุรี  สุพรรณบุรี ราชบุรี

    ความสูญเสีย
    ถ้าทำลายในช่วงอายุเล็ก  1 - 3 เดือน อ้อยตาย
    ในแหล่งระบาดมากอ้อยหักล้มเก็บผลผลิตไม่ได้

    ศัตรูธรรมชาติ

    • สุนัข,  นก,  คน
    • เชื้อรา

    การป้องกันกำจัด

    1. เก็บตัวเต็มวัย นำมาทำเป็นอาหาร
    2. ในแหล่งระบาดมากใช้วิธีการป้องกันโดยการเก็บหนอน
  3. ปลวกอ้อย
    ปลวกเป็นแมลงศัตรูในดินที่สำคัญชนิดหนึ่ง พบทั่วไปตามที่สูง ที่สำคัญที่พบ กาญจนบุรี ชนิด Odontotermes takensis Ahmad, กำแพงเพชร คือ Microcerotermes annandalei Silvestri

    การระบาด
    พื้นที่ปลูกอ้อยจังหวัด กาญจนบุรี  สุพรรณบุรี กำแพงเพชร  อุดรธานี

    ลักษณะการทำลาย

    • ทำลายท่อนพันธุ์
    • ทำลายหน่ออ้อย
    • ทำลายลำต้น

    ความสูญเสีย
    ตัวปลวกเข้าทำลาย 20 - 40% ลำ ผลผลิตลดลง 1 - 2 ต้น/ไร่

    ปลวกรังใต้ิดิน

    • Odontotermes  takensis Ahmad
    • Microtermes  obesi  Holmgren

    การป้องกันกำจัดรังปลวกใต้ดิน

    • ไถพรวนหลายๆครั้ง
    • ในแหล่งพบปลวกใช้สารฆ่าแมลงพ่นบนท่อนพันธุ์ แล้วกลบดิน
    • ใช้ใบอ้อยคลุมดินชลอการเข้าทำลายของปลวกได้

    ปลวกรังบนดิน

    • Macrotermes  annandalei  Silverstri
    • Microcerotermes  annandalei  Silverstri
    • Coptotermes  harilandi  Holmgren