หนอนเจาะลำต้นอ้อย

วงจรชีวิต

ไข่ 9 วัน
หนอน 25 - 30 วัน
ลอกคราบ 7 ครั้ง มี 8 วัย
ดักแด้ 7 - 10 วัน
ตัวเต็มวัย 3 - 5 วัน

สาเหตุการระบาด

  1. สภาพอากาศที่เหมาะสม
    - ความชื้น 70
  2. ฝนตกชุกตลอดปี
  3. ปลูกอ้อยใกล้นาข้าว
  4. พันธุ์อ้อยที่อ่อนแอ มาร์กอส คิว130

ลักษณะการทำลาย

  • หนอนเจาะเข้าไปในลำอ้อยอยู่กันเป็นกลุ่ม
  • วันที่ 4 - 5 กระจายไปสู่ลำใหม่

ความสูญเสีย

ปัจจัยที่สำคัญ คือ พันธุ์

พันธุ์ที่เสียหายมาก(หนอนชอบ)

  • มาร์กอส
  • คิว 130

พันธุ์ที่มีแนวโน้มต้านทาน

  • อู่ทอง 1
  • เอฟ 156
  • K 84-200

การป้องกันกำจัดโดยวิธีผสมผสาน

  1. วิธีกล
    • การตัดทำลายช่วงเป็นหนอน
    • ได้ผลดีในระยะเริ่มการระบาดครั้งแรก ประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม
    • หนอนที่ได้ นำมาประกอบอาหาร
  2. ชีววิธี
    • ใช้แตนเบียนไข่ช่วงมีไข่
    • ใช้สารปิโตรเลียม สเปรย์ ออยล์ ช่วงมีไข่
    • ใช้แตนเบียนหนอนช่วงมีหนอน
    • ใช้เชื้อแบคทีเรียในช่วงเป็นตัวหนอน
  3. ใช้สารเคมี
    ใช้ในช่วงเป็นตัวเต็มวัย ใช้ในช่วงตัดอ้อยเข้าโรงงาน

ศัตรูธรรมชาติในไร่อ้อย

  1. แตนเบียนไข่
    • ไตรโคแกรมม่า (Trichogramma spp.)
    • ทีรีโนมัส (Telenomus sp.)
  2. แตนเบียนหนอน
    • โคทีเซีย Cotesia sp.
  3. แตนเบียนดักแด้
  4. ตัวห้ำ
    • มดกินไข่
    • มวนกินไข่
    • แมลงหางหนีบ

การป้องกันกำจัดระยะตัดอ้อยเข้าโรงงาน

  • ใช้สารฆ่าแมลงฉีดที่ตอหลังจากตัดอ้อยเข้าโรงงานไม่เกิน 7 - 10 วัน
  • ถ้าไม่ใช้สารฆ่าแมลงและมีแตนเบียน หนอนให้ปล่อยแตนเบียนหนอน

ในระยะอ้อยแตกกอ
ส่วนมากเป็นหนอนกอ 3 ชนิด

  • หนอนกอลายจุดเล็ก
  • หนอนกอสีขาว
  • หนอนกอสีชมพู

ถ้าพบ 10% หน่อที่ถูกทำลาย

ทำการควบคุมโดย
  • ปล่อยแตนเบียนไข่
  • ปล่อยแตนเบียนหนอน
  • ถ้าไม่สามารถควบคุมได้ ระบาดมากใช้สารเคมีเฉพาะที่จำเป็น

ในระยะอ้อยเป็นลำ

  • ส่วนมากเป็นหนอนกอลายจุดใหญ่
  • พบไข่ให้ปล่อยแตนเบียนไข่
  • พบไข่ใช้ปิโตรเลียม สเปรย์ ออยล์ ฉีดพ่น
  • ถ้าพบหนอนให้ตัดทำลาย
  • ปล่อยแตนเบียนหนอน

การใช้สารฆ่าแมลง

พบตัวเต็มวัยมาก สังเกตจาก
  • กลางคืนเดินในไร่พบเกาะอยู่ตามต้นอ้อย
  • ใช้แสงไฟล่อเข้าหาแสงไฟ 5%
  • ดูจากคราบดักแด้ ถ้าเห็นคราบ หรือ มากกว่า50%

ข้อจำกัดในการใช้สารฆ่าแมลง

  1. ฉีดเวลาเย็น
  2. แน่ใจว่ามีตัวเต็มวัย
  3. อุปกรณ์การฉีด (แรงดันน้ำสูง)
  4. วิธีการฉีดที่ถูกต้อง (เหนือลม)

การควบคุมที่มีประสิทธิภาพ

  • เกษตรกรต้องหมั่นตรวจดูแปลง ถ้าพบให้รีบจัดการทำลาย
  • การใช้ศัตรูธรรมชาติเป็นวิธีการที่ยั่งยืนสามารถควบคุมหนอนเจาะลำต้นอ้อยได้โดยมีประสิทธิภาพ
  • พยายาม เปลี่ยน ขยายพันธุ์อ้อยที่มีแนวโน้มต้านทาน

ถ้ามีกาีรระบาดเกิดขึ้นจะต้องใช้วิธืผสมผสาน

  • วิธีกล: การตัดทำลาย
  • ชีววิธี: การใช้แตนเบียนไข่ หนอน
  • การใช้เชื้อแบคทีเรีย
  • การใช้ปิโตรเลียม สเปรย์ ออยล์
  • การใช้สารเคมี ขอให้เป็นวิธีการสุดท้าย

หนอนเจาะลำต้นอ้อยสามารถนำไปประกอบอาหารได้

  • รถด่วนอีสาน
  • น้ำยาขนมจีน
  • ทอดมัน
  • ข้าวเกรียบ
  • มีโปรตีน 57% พอๆกับนางพญาปลวก ซึ่งมีโปรตีน 68%

ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ต้องมีความร่วมมือ

  • เกษตรกรชาวไร่อ้อย
  • โรงงานน้ำตาล
  • หน่วยราชการต่างๆ
  • สำคัญที่สุด เกษตรกรต้องหมั่นตรวจดูแปลงอย่างสม่ำเสมอก็สามารถควบคุมหนอนเจาะลำต้นอ้อยได้

งานวิจัยเสริม

  • ให้หลีกเลี่ยงการนำท่อนพันธุ์อ้อยที่มีหนอนไปปลูก
  • ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้อง
    แช่น้ำเย็น 25 ชั่วโมง
    แช่น้ำอุ่น 7 ชั่วโมง
    แช่น้ำร้อน 52 องศา 1 ชั่วโมง

ถ้าทำไม่ได้ให้

  • ฉีดพ่นสารฆ่าแมลงบนท่อนพันธุ์
  • กลบดิน

ความงอกของท่อนพันธุ์

ถ้าหนอนทำลายไม่เกิน 60% ของท่อนพันธุ์ อ้อยสามารถงอกขึ้นมาได้ 80 - 100 %

การปลูกอ้อยที่ท่อนพันธุ์มีหนอน ทำให้

  • หนอนสามารถเจริญเติบโตได้รวดเร็ว
  • สภาพอากาศเหมาะสม ความชื้นในดินพอเหมาะในการเจริญเติบโต

การใช้แตนเบียนไข่ที่มีประสิทธิภาพ

  • สำรวจในไร่อ้อย ถ้าพบไข่ให้ปล่อยแตนเบียนไข่ จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด
  • อัตราการปล่อยอย่างต่ำ 12,000 ตัว/ไร่
  • อัตราส่วนตัวผู้ : ตัวเมียต้องเหมาะสม (ตัวเมียมากกว่าตัวผู้)

การใช้แตนเบียนหนอนที่มีประสิทธิภาพ

  • สำรวจพบหนอนในวัย 2 - 4 ให้ผลดีที่สุด
  • ต้องปล่อยทุกอาทิตย์
  • อัตราส่วนตัวผู้ : ตัวเมียต้องเหมาะสม (ตัวเมียมากกว่าตัวผู้)

การใช้วิธีกล

  • ตัดทำลายในช่วงระบาดใหม่ๆ
  • ตรวจดูแปลงทุกวัน
  • ตัดออกมาแล้วต้องนำมาทำลาย

การใช้เชื้อแบคทีเรีย

  • ใช้ในหนอนระยะวัย 1 - 2
  • การฉีดใช้เครื่องแรงดันน้ำสูง
  • ถ้าหนอนวัย 4 - 5 จะได้ผล 40% โดยใช้แรงดันน้ำสูง

การใช้ปิโตรเลียม สเปรย์ ออยล์ 83.9% W/V EC (ดีซี ตรอน พลัส)

  • ในระยะเป็นไข่ ได้ผลดี
  • ในระยะหนอนฟักออกใหม่ๆ

การใช้สารฆ่าแมลง

หนอนกอลายจุดเล็ก สีขาว สีชมพู
  • อ้อยตอ ใช้คาร์โบฟูแรน (ฟูราดาน 3%G) โรยข้างๆ กอแล้วกลบดิน
  • เมื่อมีความชื้น สารฆ่าแมลงจะออกฤทธิ์ป้องกันหนอนได้
  • ใช้สารฉีดพ่นเมื่อมีแนวโน้มระบาดเพิ่มขึ้น
  • ใช้เดลทาเมทริน อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร
  • ไซเพอร์เมทริน อัตรา 15 มล./น้ำ 20 ลิตร

หนอนกอลายจุดใหญ่

  • ในช่วงตัดอ้อยเข้าโรงงานพบการทำลายที่ตอใช้หลังตัดอ้อยไม่เกิน 7 - 10 วัน
  • ใช้ในระยะผีเสื้อส่วนมากเป็นระยะที่อ้อยโตแล้วต้องใช้เครื่องแรงดันน้ำสูงฉีดพ่นเวลาเย็น

การสุ่มตัวอย่างหนอนกออ้อย

การสุ่มตัวอย่างเป็นวิธีที่ต้องการจะทราบว่ามีหนอนอยู่ในไร่มากน้อยแค่ไหน
หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอสีขาว หนอนกอสีชมพู
  • Systematic random sampling
  • Sequential sampling

หนอนกอลายจุดใหญ่

  • สุ่ม 10 แถวๆ ละ 50 ต้น
  • สุ่มแถวเว้นแถว
  • ได้อ้อย 500 ต้น
  • สุ่มแถวๆ ละ 2 ต้น คำนวณ % การทำลายปล้อง

ความสูญเสีย

  • 5 - 10 % ปล้อง: การทำลายน้อยมาก
  • 11 - 20 % ปล้อง: การทำลายน้อย
  • 21 - 30 % ปล้อง: การทำลายปานกลาง
  • มากกว่า 30 % ปล้อง: การทำลายมาก

มาร์กอส % ทำลายปล้อง 53.68
ผลผลิตลดลง 56.46 % โดยน้ำหนัก ความหวานลดลง 38.38 %

คิว 130 % ทำลายปล้อง 35.14
ผลผลิตลดลง 45.82 % โดยน้ำหนัก ความหวานลดลง 52.18 %

 

ดร.ณัฐกฤต พิทักษ์
กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร