การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูอ้อย โดยวิธีผสมผสาน

การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูอ้อย โดยวิธีผสมผสาน
ในระยะอ้อยแตกกอ

หนอนกออ้อยในระยะแตกกอมี 5 ชนิด
  1. หนอนกอลายจุดเล็ก
  2. หนอนกอลายใหญ่ (พบเล็กน้อย)
  3. หนอนกอสีขาว
  4. หนอนกอสีชมพู
  5. หนอนกอลายจุดใหญ่ (พบเล็กน้อย)

วิธีการ

  • พันธุ์อ้อยต้านทาน
    ค่อนข้างต้านทาน เอฟ 156 อู่ทอง 1 K 84-200
  • การสุ่มตัวอย่าง
    - Systematic random sampling
    - Sequential sampling
  • แตนเบียน ปล่อยแตนเบียนไข่ Trichogramma sp. อัตรา 20,000 ตัว/ไร่ ประมาณ 7 ครั้ง
  • แตนเบียนไข่ Telenomus sp.
  • แตนเบียนหนอน Cotesia sp.

การคลุมดินด้วยใบอ้อย
ลดการทำลายของหนอนกอลดลงได้ 70-80%

การใช้สารฆ่าแมลง
- deltamethrin อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร
- cypermethrin อัตรา 15 มล./น้ำ 20 ลิตรใช้เฉพาะจำเป็นเท่านั้น

ระยะเวลาการใช้สารฆ่าแมลง
  • ถึงระดับเศรษฐกิจ
    10% หน่อที่ถูกทำลาย (ฤดูแล้ง)
    15% หน่อที่ถูกทำลาย (ฤดูฝน)
  • พ่นด้วยน้ำน้อย (10 ลิตร/ไร่)
ผล IPC เกษตรกร
%การทำลาย 0.57-2.63 8.57-12.22

กำไรสุทธิ (บาท/ไร่)

อ้อยต้นละ 550 บาท

1,632-3,405 539-1,098

ผลพลอยได้
อินทรีย์วัตถุเพิ่มขึ้น 15-20%
ผลผลิตเพิ่มขึ้น 10-15%
ไม่ต้องกำจัดวัชพืช

การป้องกันกำจัดหนอนเจาะลำต้นอ้อยโดยวิธีผสมผสาน

  • หนอนกอลายจุดใหญ่ (Chilo tumidicostalis Hampson)
    ระยะไข่
    • ถ้าพบไข่ให้ปล่อยแตนเบียนไข่ อัตรา 12,000-20,000 ตัว/ไร่
    • ถ้าพบไข่มากใช้สารปิโตรเลียมออยล์ฉีดพ่น
    ระยะหนอน
    • พ่นด้วยเชื้อแบคทีเรียเมื่อหนอนอยู่ในระยะ 1-2
    • ใช้วิธีกล โดยการตัดทำลาย
    • ปล่อยแตนเบียนหนอน อัตรา 100-500 ตัว/ไร่

    ระยะดักแด้
    ใช้วิธีกลโดยการตัวทำลาย

    ระยะตัวเต็มวัย
    ใช้สารฆ่าแมลงพ่นเวลาเย็นๆ เพื่อทำลายตัวเต็มวัย (ต้องทราบการออกเป็นตัวเต็มวัย และวิธีการฉีดพ่น)

    ระยะตัวอ้อยเข้าโรงงาน
    ถ้าพบมากฉีดพ่นที่ตออ้อย
    • ปล่อยแตนเบียนหนอน
    • ถ้ามากเกิน 50% ให้ไถทิ้ง

พันธุ์อ้อยที่มีแนวโน้นต้านทาน

  • K-84-200
  • อู่ทอง 1
  • เอฟ 156

ผลการทดลองปล่อยแตนเบียนไข่ 2543

ก่อนปล่อย (%) หลังปล่อย (%) เพิ่มขึ้น ลดลง
แตนเบียนไข่ 9.29 34.86 25.57
การทำลายหนอน 78.34 17.35 60.99

วิธีกล 2543

% ก่อนตัดทำลาย % หลังตัดทำลาย ลดลง
78.33 10.34 67.99

ปล่อยแตนเบียนหนอน 2544

% การระบาด % แตนเบียนหนอน ก่อนปล่อย % แตนเบียน หลังปล่อย % แตนเบียน เพิ่มขึ้น
อ.สตึก 5.63 5.0 22.19 17.19
อ.ลำปลายมาศ 6.31 1.25 16.25 15.00
อ.บ้านกรวด 6.16 40.00 54.62 14.62
อ.ละหานทราย 6.37 38.19 60.91 22.72
เฉลี่ย 6.12 21.11 38.49 17.38

การนำหนอน ดักแด้มาประกอบอาหาร

  • รถด่วนอีสาน
  • ข้าวเกรียบ
  • ทอดมัน
  • น้ำยาขนมจีน

การป้องกันกำจัดด้วงหนวดยาวอ้อย โดยวิธีผสมผสาน

  • การสุ่มตัวอย่าง
    - แบบเส้นทะแยงมุม
    - Sequential sampling
  • ระดับเศรษฐกิจ 24% กอ
  • วิธีกล เดินเก็บหนอนตามรอยไถ 3-4 ครั้ง
  • การใช้สารฆ่าแมลง วางท่อนพันธุ์ ฉีดพ่นสารฆ่าแมลง (fipronil อัตรา 80 มล./น้ำ 20 ลิตร) แล้วกลบดิน
  • ชีววิธี ไส้เดือนฝอย ในช่วงเดือน พฤษภาคม - กันยายน ระยะมีความชื้น
  • การใช้กับดักหลุม ดักจับตัวเต็มวัย ในช่วงเดือน มีนาคม -เมษายน

ผลการทดลอง

IPC เกษตรกร
%การทำลาย 3.59-5.67 10.84-11.79
ขาดทุน 16,474.64 238.72
*อ้อยตันๆ ละ 550

การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูอ้อยโดยวิธีผสมผสาน

  • ได้แนะนำการป้องกันกำจัด หนอนกออ้อย, หนอนเจาะลำต้น และด้วงหนวดยาวอ้อย โดยวิธีผสมผสาน
  • ลดการกำจัดวัชพืช
  • ลดการใช้สารเคมี

ถ่ายทอดเทคโนโลยี

  • วิทยุรายการเพื่อนเกษตร สถานีวิทยุ กระจายเสียงแห่งประเทศไทย
  • รายการวิทยุ อ.ส.ม.ท. การระบาดของหนอนเจาะลำต้นอ้อย
  • รายการโทรทัศน์ช่อง 7
  • รายการโทรทัศน์ช่อง 5 สื่อเกษตร

 

ณัฐกฤต พิทักษ์
กลุ่มงานวิจัยแมลงศัตรูข้าวโพดและพืชไร่อื่นๆ
กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร