การบำรุงอ้อยตอ

ผลผลิตในอ้อยตอจะสูงหรือต่ำ ไว้ตอได้หลายปีหรือไม่ ส่วนหนึ่งมีผลสืบเนื่องจากมาจากอ้อยปลูก ซึ่งเริ่มตั้งแต่การปรับปรุงดิน การเตรียมดิน การ ใช้พันธุ์อ้อย การปลูก เปอร์เซ็นต์การงอก การดูแลรักษา โรคและแมลง ฯลฯ กล่าวคือ ก่อนปลูกอ้อยมีการปรับพื้นที่ ไม่ให้มีน้ำแช่ขัง มีการปรับปรุงดิน มีการเตรียมดินที่ดี พันธุ์อ้อยสมบูรณ์ ปลอดโรค แมลง หลังจากปลูกแล้วมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูง มีการใส่ปุ๋ยสูตรและอัตราที่เหมาะสม ในช่วงเก็บเกี่ยวรถตัดอ้อย รถบรรทุกอ้อยไม่เหยียบตออ้อย อ้อยตอที่เกิดใหม่ย่อมจะสมบูรณ์อย่างแน่นอน สำหรับอ้อยตอปีต่อ ๆ ไปก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากชาวไร่อ้อยบำรุงรักษาไว้ดี ก็ สามารถจะไว้ได้หลายปี และผลผลิตอ้อยยังคงสูงอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม การไว้ตอจะไว้ได้หลายปีหรือไม่ ผลผลิตของอ้อยตอจะสูงหรือต่ำ ขึ้นกับปัจจัยอีกหลายอย่างเช่น

  1. พันธุ์อ้อย อ้อยแต่ละพันธุ์มีความสามารถในการไว้ตอได้ต่างกัน กล่าวคือ บางพันธุ์มีเปอร์เซ็นต์การตายของตอสูง เกิดช้า บางพันธุ์เมื่อเป็นอ้อยตอขนาดของลำเล็กลงกว่าอ้อยปลูกมาก ผลผลิตของอ้อยปลูก : ตอ แตกต่างกันมาก ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีลักษณะไม่ดี ลักษณะของพันธุ์อ้อยที่ดี เหมาะสมกับท้องถิ่นนั้น จะต้องให้ผลผลิตสูง ตอตายน้อย ไว้ตอได้หลายปี ขนาดของลำไม่แตกต่างจากอ้อยปลูกมากนัก มีความทนทานต่อโรคและแมลงได้ดี ตัวอย่างเช่น พันธ์ เค.84-200 ที่ปลูกในดินร่วน ร่วนเหนียว หรือร่วนปนทราย ที่มีความอุดมสมบูรณ์ พันธุ์ ฟิล 63-17 ซีโอ 1148 91-2-318 ในที่ดินร่วนปนทราย ทรายร่วน เป็นต้น
  2. ความหนาแน่นของอ้อยปลูก อ้อยปลูกที่เกิด 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเป็นอ้อยตอ ย่อมจะงอก 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้างอกไม่เต็ม ควรซ่อมให้เต็ม
  3. อายุของอ้อยขณะเก็บเกี่ยว อายุเก็บเกี่ยวปีแรก บางพันธุ์จะมีผลกระทบกับอ้อยตอ กล่าวคือ ถ้าตัดอ้อยปีแรกเก็บเกี่ยวเมื่ออายุมากเกินไป เช่น อ้อยปลูกตุลาคม-พฤศจิกายน เก็บเกี่ยวเดือนมีนาคม อ้อยมีอายุ 16-17 เดือน ตออ้อยจะเกิดน้อยกว่าอ้อยที่เก็บเกี่ยวอายุ 12-13 เดือน หรือน้อยกว่าสาเหตุเนื่องจากเก็บเกี่ยวอายุมากเกินไป ตาอ้อยแก่เกินไป และผลจากการกระทบแล้งนาน จึงมีตอตายมาก ฉะนั้นต้องมีการวางแผนการเก็บเกี่ยวให้ เหมาะสมกับอายุความหวานและวางแผนเก็บเกี่ยวให้หมดแปลงภายใน 1-2 วัน
  4. ชนิดของดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ชนิดของดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินมีผลต่อผลผลิต และอายุของการไว้ตอมาก กล่าวคือ ถ้าเป็นดินร่วนเหนียว-ร่วนปนทราย ที่มีอินทรียวัตถุมากกว่า 1.5 ตออ้อยจะมีผลผลิตสูง และไว้ตอได้หลายปี แต่ถ้าเป็นดินร่วนปนทราย-ทรายร่วน ดินมีอินทรียวัตถุน้อยกว่า 1.5 ผลผลิตของอ้อยตอจะต่ำ ถ้าอินทรียวัตถุต่ำมาก ผลผลิตของอ้อยตอจะต่ำมากและไว้ตอได้ไม่นาน ฉะนั้นถ้าดินมีอินทรียวัตถุต่ำจะต้องปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด
  5. การปฏิบัติดูแลรักษา การปฏิบัติรักษาอ้อยตอ ชาวไร่จะต้องตัดแต่งตอให้แล้วเสร็จ ภายใน 3 วันนับจากวันเก็บเกี่ยวเสร็จ อาจจะใช้แรงงานหรือเครื่องตัดแต่งตอก็ได้ การปฏิบัติรักษานั้น มีทั้งวิธีการเผาใบ และไม่เผาใบ วิธีการจะแตกต่างกันไปตามชนิดของดิน ความชื้นของดิน และสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้น บางแห่งจำเป็นต้องเผาใบ เนื่องจากเสี่ยงต่อไฟไหม้ ซึ่งอาจมาจากไฟป่า หรือคนชอบจุด
    1. กรณีไม่เผาใบ เศษใบอ้อยที่อยู่ในไร่ จะใช้แรงงานตัด เครื่องจักรตัด จะมีน้ำหนักประมาณ25-27 เปอร์เซ็นต์ของอ้อยสด ถ้าหากอ้อยสดได้ 15 ตัน/ไร่ จะมีเศษใบยอดอ้อยทิ้งอยู่ในไร่ประมาณ 4 ตัน เศษใบอ้อยนี้จะช่วยคลุมดิน รักษาความชื้น คลุมวัชพืชและเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ใบอ้อยที่คลุมดินไว้จะช่วยลดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการพรวนดิน ใส่ปุ๋ย เช่น
      1. พรวนคลุกใบอ้อย Trash incorporation and Fertilizer เครื่องมือนี้มีจานพรวนดิน ใส่ปุ๋ยหลังพรวนระเบิดดาน มีริปเปอร์ มีลูกกลิ้งทับบด ดินให้ละเอียด
      2. กรณีดินร่วนหรือร่วนเหนียว ใช้จอบหมุนคลุกใบอ้อย เมื่อคลุกแล้วควรใส่ปุ๋ยทันทีการใส่ปุ๋ยรองพื้น ควรเน้น N และ P คือ เร่งรากและหน่อ อาจจะใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 20-20-0 ถ้าเป็นดินร่วนปนทราย อาจจะใช้ 16-16-8 การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า ใส่เมื่อเริ่มเข้าฤดูฝน การใส่ปุ๋ยแต่งหน้าเน้น N และ K เช่น สูตร 20-4-30, 15-5-20 หรือ 16-11-14 การใส่ปุ๋ยในอ้อยตอควรจะใส่มากกว่าอ้อยปลูก การดูแลรักษา เช่น กำจัดวัชพืช ดูแลเช่นเดียวกับอ้อยปลูก
    2. กรณีเผาใบ อาจจะเผาอ้อยก่อนตัดหรือตัดสดแล้วเผาใบ ขั้นตอนการดำเนินการต้องพยายามทำดินให้ร่วนซุยเช่นเดียวกับการเตรียมดินปลูกอ้อย เพื่อให้ดินสามารถเก็บความชื้นไว้ได้นาน เครื่องมือที่ใช้ เช่น คราดสปริงถังปุ๋ย + คราดตัว A หรือพรวนจานถังปุ๋ย + คราดตัว A (Trash incorporation and Jertiliger) พรวนดินใส่ปุ๋ยสูตรเดียวกับกรณีไม่เผาใบ การดูแลรักษา เช่นเดียวกับอ้อยปลูกใหม่

สำหรับในด้านความหวานนั้น เมื่อเทียบอ้อยค้างไร่ อ้อยไฟไหม้ค้างไร่ และอ้อยไฟไหม้ยืนต้นมีการเปลี่ยนแปลง ดังตาราง

วันที่ อ้อยสดตัดค้างไร่ อ้อยไฟไหม้ตัดค้างไร่ อ้อยไฟไหมยืนต้น
ซีซีเอส. การเปลี่ยนแปลง ซีซีเอส. การเปลี่ยนแปลง ซีซีเอส. การเปลี่ยนแปลง
1 14.05
- 14.02
-0.03
14.07
-0.03
2 13.80 -0.25
14.27 +0.22 14.00 -0.05
3 14.09 +0.04 14.86 +0.81 12.90 -1.15
4 13.34 -0.71 15.80 +1.75 12.10 -1.95
5 13.87 -0.18 14.76 +0.71 12.00 -2.05
6 13.81 -0.24 14.72 +0.67 12.00 -2.05
7 13.69 -0.36 - - 12.00 -2.05
8 13.11 -0.94 - - 11.80 -2.25
9 12.31 -1.74 - - 11.80 -2.25
10 13.07 -0.98 - - 12.20 -1.85

จากตาราง อ้อยสดตัดค้างไร่ ซีซีเอส.จะลดลง อ้อยไฟไหม้ตัดค้างไร่ ซีซีเอส. เพิ่มขึ้นและอ้อยไฟไหม้ปล่อยยืนต้นไว้แล้วตัด ซีซีเอส.ลดลง และลดลงมากกว่าอ้อยสดตัดค้างไร่

คนขึ้น สิ่งปนเปื้อน% รถคีบ สิ่งปนเปื้อน%+ ดินทราย%
อ้อยสด
5.77
7.18
-
อ้อยยอดยาว 12.58 14.92 -
อ้อยไฟไหม้ 7.81 8.79 0.43
อ้อยไฟไหม้ยอดยาว 13.31 16.50 1.15

สรุปจากที่ได้กล่าวมาแล้วการเก็บเกี่ยวและขนส่งอ้อยให้มีประสิทธิภาพลดการสูญเสียในด้านน้ำหนักคุณภาพและผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย จะต้องคำนึงถึง

  1. อายุอ้อย อ้อยจะต้องมีอายุอยู่ในไร่ไม่น้อยกว่า 12 เดือน
  2. เก็บเกี่ยวพันธุ์ที่หวานเร็วก่อน
  3. ใส่ปุ๋ยอ้อยให้อยู่ในสภาพสมดุล
  4. ตัดชิดดิน ส่วนยอดตัด ณ จุดเปราะ
  5. ตัดอ้อยสด ส่งโรงงานภายใน 72 ชั่วโมง
  6. ลดปริมาณสิ่งสกปรก กาบใบ หิน ดิน ทราย