การจัดการวัชพืชในไร่อ้อยโดยวิธีเขตกรรม

การปลูกพืชบำรุงดิน เช่น การปลูกปอเทือง

การไถพรวนกลบปอเทือง
การไถพรวนกลบปอเทืองโดยใช้พรวน 22 จาน ในการพรวน โดยทำการพรวน 2 ครั้งในแนวพรวนที่ตัดขวางกัน เพื่อย่อยปอเทืองให้ละเอียดและคลุกลงดินเพื่อที่จะย่อยสลายได้เร็วขึ้น

การไถพรวนกลบปอเทืองด้วยพรวน 22 จาน
การพรวนในเที่ยวที่ 2 จะเป็นการพรวนในแนวขวางจากแนวเดิมซึ่งจะทำให้ดินและต้นของปอเทืองย่อยละเอียดและย่อยสลายเร็วมากยิ่งขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในการเตรียมดินเพื่อการปลูกอ้อย

  1. พรวน 22 จาน (Offset Disc Harrow)
  2. พรวน Offset เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่ชาวไร่อ้อยน่าจะมีใช้กันทุกคน แต่เนื่องจากราคาค่อยข้างสูง และต้องใช้กับรถแทรกเตอร์ที่มีแรงม้าสูงๆ แต่อย่างไรก็ตามพรวนขนาดใหญ่ตั้งแต่ 24 จานขึ้นไป ที่มีน้ำหนักมากเหมาะกับการรื้อตออ้อย,พรวนกลบหญ้าสูงๆ หรือพื้นที่ๆมีวัชพืชขึ้นอยู่หนาแน่น หรือใช้พรวนดินหลังจากไถ เพื่อต้องการให้ดินละเอียดขึ้น

    ลักษณะสำคัญของพรวน
    มีจานชุด แก็ง(Gang) จำนวนสองชุดคือชุดหน้าและหลังสามารถปรับองศาให้มากหรือน้อยได้โดยระบบไฮดรอลิคหรือระบบธรรมดา องศาของ แก็ง(Gang) หน้าจะต้องน้อยกว่า แก็ง(Gang) หลัง น้ำหนักของพรวนประมาณ 3.5 ตัน องศาของจานแถวหน้า 16, 19 และ 22 ส่วนองศาของจานแถวหลัง 16, 19, 22 และ 25 ถ้าหากองศาของทั้งสองแก็ง(Gang) แตกต่างกันมากก็จะทำให้การกินดินมากขึ้น นอกจากนี้เราสามารถเพิ่มน้ำหนักได้อีกประมาณ 160 กิโลกรัมโดยใส่น้ำมันเข้าไปในคาน (จะมีเฉพาะบางรุ่นเท่านั้น) จะทำให้แรงกดของจานเพิ่มมากขึ้นอีก ซึ่งจะทำให้จานมีแรงตัดมากขึ้น

  3. ริปเปอร์ขนาด 5 ขา หรือ ไถระเบิดดาน
  4. ไถระเบิดดินดานที่ดีนั้นจะต้องบาง มีส่วนโค้งของขาที่ออกแบบมาถูกต้อง และต้องมีมุมของเล็บที่ไม่ม้วนดินด้านล่างขึ้นมาไถระเบิดดานที่ดีนั้นจะต้องกินแรงม้าของรถแทรกเตอร์น้อยที่สุด ขาไถระเบิดดินดานตั้งให้ห่างกัน ประมาณ 50 ซ.ม. ในขณะที่ไถ ด้านปลายของขาที่อยู่ใต้ดิน จะยกขึ้นและทำให้ดินแตกตัวและฟูขึ้น หน้าดินจะไม่ม้วนตัวขึ้นมาปนกับหน้าดิน

    ไถระเบิดดินดานแบบธรรมดา หรือแบบสั่นได้ ทำงานได้คล้ายกัน แต่แบบที่สั่นได้ก็จะช่วยในการระเบิดดานได้ดีขึ้น แต่ต้องมีการบำรุงรักษามากกว่า และราคาแพงกว่า ถ้าต้องระเบิดดานสองครั้งขวางแบบตารางหมากรุก ไถครั้งแรกให้ตื้นกว่าไถในครั้งที่สอง การระเบิดดานควรจะทำในขั้นตอนหลัง ซึ่งอาจจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนการปลูกถ้าหากดินที่เตรียมไว้ละเอียดพอ

    ทำไมต้องทำการไถตัดชั้นดินดาน ?
    เราจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือกสิกรรมที่เรียกว่า “ไถระเบิดดินดาน” หรือ “เชคแอเรเตอร์” มาทำลายชั้นดินดาน เพื่อที่จะให้รากของพืชสามารถที่จะแทงรากลงได้ลึก และนำน้ำที่อยู่ในชั้นใต้ดินขึ้นมาใช้ได้ และยังส่งผลให้ระบบรากพืชมีความแข็งแรง และช่วยให้ต้นพืชไม่เหี่ยวแห้งในหน้าแล้ง

    หลังการใช้ไถระเบิดดินดาน
    เมื่อชั้นดินดานถูกทำลาย น้ำฝนสามารถซึมลงใต้ดิน เก็บกักน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง รากอ้อยสามารถหยั่งลึกลงไปในดินเพื่อหาอาหาร ทำให้การเจริญเติบโตของอ้อยสม่ำเสมอเป็นแนวเดียวกันและให้ความชุ่มชื้นแก่ดิน ดินจะฟูขึ้นทำให้มีช่องทางเดินของน้ำและอากาศ น้ำจากใต้ดินเคลื่อนตัวสู่ยังผิวดินได้สะดวก เมื่อมีฝนทิ้งช่วง ต้นอ้อยจะไม่ตาย

    ระบบความปลอดภัยของขาไถระเบิดดาน
    ไถระเบิดดานที่ดี ต้องมีน๊อตเช้ฟตี้เพื่อความปลอดภัยในกรณีที่ ขาริปเปอร์ไปชนกับหินหรือตอที่อยู่ใต้ดินน๊อตเช้ฟตี้จะขาดออกและทำการเปลี่ยนน็อตตัวใหม่ใส่แทนเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับรถและเครื่องมือ ในจุดที่มีตอหรือหินควรมีการใช้หลักธงปักแหน่งที่มีตอหรือหินเพื่อที่จะได้เข้าไปทำการขุดตอออกจากแปลงหรือหากไม่ขุดออกจะเป็นผลดีกับการลงระเบิดดานในเที่ยวที่สอง จะทำให้เราทราบตำแหน่งตอ ทำให้เราสามารถเพิ่มความระมัดระวังและทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนน็อตในเที่ยวที่สองอีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนในการเตรียมดิน

  5. ROTARY 80” ระเบิดดาน + จอบหมุน
  6. ในการลดขั้นตอนในการเตรียมดิน ในบางประเทศ ใช้ยาฉีดตออ้อยโดยใช้ “ไกโฟเซท” (Glyphosate) ฉีด และหลังจากนั้นใช้ไถระเบิดดาน และจอบหมุนที่ต่อเป็นชุดเดียวกัน ที่เรียกว่า “คอมบาย” ทำการเตรียมดินก่อนปลูกในครั้งเดียว

  • การพรวนดินให้ละเอียดก่อนการเพาะปลูกนั้นมีความสำคัญมาก มีเครื่องมือหลายชนิดที่ใช้ในการทำให้ดินละเอียดไม่ว่าจะเป็น พรวนแบบ 7 จาน, พรวน Offset หรือจอบหมุน
  • ดินละเอียดช่วยเก็บความชื้นได้ดีกว่าเมื่อปลูกอ้อยข้ามแล้ง

เครื่องมือที่ใช้ในการปลูกอ้อย

เครื่องปลูกอ้อยแบบร่องคู่

เครื่องปลูกชุดที่ใช้ปลูกมีการปรับระยะร่องที่ 180 ซม. ระยะของท่อนอ้อยในร่อง ระยะห่าง 25 ซม. อัตราการใช้ปุ๋ยรองพื้น ปรับได้ตั้งแต่ตามความต้องการ ตั้งแต่ 50-70 กก./ไร่
ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องปลูกอ้อย

  1. ล้อบดดิน
    ดินที่กลบอยู่เหนือท่อนพันธุ์อ้อยจะต้องกดให้แน่นให้ดินแนบกับท่อนพันธุ์ไม่มีอากาศอยู่รอบ ๆ ท่อนพันธุ์ การกดดินให้แน่นช่วยรักษาความชื้นในดินไว้เมื่อเราปลูกข้ามแล้ง ดินบางชนิดการกดดินแน่นเกินไปก็จะทำให้เกิดปัญหากับการเกิดของอ้อย
  2. ใบกลบท่อนพันธุ์
    ดินที่กลบเหนือท่อนพันธุ์ควรจะหนาประมาณ 10 ซ.ม. ดินที่กลบจะมากหรือน้อยกว่านี้ก็แล้วแต่สถานการณ์

  3. หัวฉีด
    เครื่องปลูกอ้อยสามารถที่จะติดหัวฉีด เพื่อฉีดปุ๋ย, น้ำยากันเชื้อรา หรือน้ำไปที่ท่อนพันธุ์ในขณะที่ปลูกก่อนที่จะกลบดินเหนือท่อนพันธ์

เครื่องมือดูแลหลังการปลูก

  1. CUTAWAY

    เครื่อง Cutaway เป็นเครื่องมือสำหรับทำรุ่นในอ้อยที่ปลูกใหม่เท่านั้น เมื่อทำการปลูกอ้อย เราจะยังไม่กลบร่องอ้อยเราจะเปิดร่องไว้ประมาณ 3 เดือน ในระหว่างนี้ ถ้าหากมีลูกหญ้าขึ้น หรือหน้าดินแข็ง จะต้องใช้ Cutaway ในการพรวนดิน กำจัดลูกหญ้า การตั้ง จาน และ ซี่คราด จำเป็นต้องตั้งให้ถูกต้อง

    การทำ cutaway ในกรณีปลูกอ้อยน้ำราด จะทำครั้งแรกหลังการให้น้ำประมาณ 3-4 วันหลังจากที่หน้าดินเริ่มจะแห้ง การทำ cutaway ก็เพื่อต้องการให้หน้าดินร่วนซุยไม่แตกระแหงเพราะการที่หน้าแตกระแหงหลังการให้น้ำ จะเป็นสาเหตุทำให้สูญเสียความชื้นในดิน และยังช่วยในการแก้ปัญหาดินแห้งรัดยอดอ้อยได้อีกด้วย และยังสามารถที่จะกระทำได้อีกหากพบว่ามีวัชพืชเริ่มขึ้นในแปลงเป็นการกำจัดวัชพืชในแปลง อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนการใช้สารเคมีในการกำจัดหญ้าได้อีกด้วย

  2. M1. เครื่องทำลูกหญ้าและกลบโคนอ้อย

    การใช้เครื่อง M1ทำรุ่นเพื่อกำจัดวัชพืชและพรวนดิน,กลบโคนอ้อย การใช้ M1 เครื่องมือสามารถทำงานได้เฉลี่ย/วันประมาณ 40-50 ไร่/วัน อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยประมาณ 1.5 ลิตร/ไร่

    การใช้เครื่องมือ M1 ใช้ในการกลบโคนอ้อยเพื่อเป็นการถมร่องอ้อยเพื่อเป็นการเสริมให้ระบบรากมีความแข็งแรงและสะดวกในการใช้รถตัดเพื่อลดปัญหาการตัดอ้อยที่เหลือตอไว้ยาวเพราะถ้าหากร่องลึกชุดใบมีดตัดไม่สามารถที่จะตัดได้ลึกก็จะทำให้เกิดการสูญเสียอ้อยตกค้างอยู่ในแปลง

  3. เครื่องใส่ปุ๋ย 702

    การใส่ปุ๋ยอ้อยหลังการกลบโคนอ้อย ชุดซี่สปริง ด้านข้าง จะช่วยในการเกลี่ยดินให้สาดเข้าใปในร่องและช่วยให้ดินในบริเวณร่องอ้อยเรียบขึ้นกว่าเดิม และชุดลูกกลิ้งที่อยู่ด้านหลังจะช่วยในการบดดินให้ละเอียดขึ้นและยังเป็นการซีลหน้าดินเพื่อช่วยรักษาความชื้นอีกด้วย

  4. เครื่องพ่นยาแบบบูมสเปรย์ใช้ขาสกีปรับระดับการทำงานของหัวฉีด