สิ่งที่พบใหม่ที่จังหวัดนครสวรรค์

  1. พบหนอนกออ้อยที่เป็น New Record ในประเทศไทยชื่อ Chilo sacchariphagus stramineelus (Caradja) ซึ่งจำแนกชื่อ โดย ดร.องุ่น ลิ่ววานิช
    • พบไข่ผีเสื้อหนอนกอสีขาว 67.86%
    • พบไข่ผีเสื้อหนอนกอลายจุดเล็ก 8.93%
    • พบไข่ผีเสื้อหนอนชนิดใหม่ 23.21%
  2. พฤติกรรมของหนอน
    หลังจากฟักออกมาใหม่ๆ จะเดินไปที่ขอบใบทิ้งสายใยลงมา ถ้าลมไม่มีก็จะชักใยกลับและเดินเข้าไปที่ยอดแทะผิวใบที่ยอดเป็นขุยเห็นชัดเจนอยู่รวมกันเป็นกลุ่มประมาณ 10-30 ตัว และกินอยู่บนยอดอ้อย อ้อยจะยอดแห้งตาย ในที่สุดก็แห้งตายทั้งต้น

    พฤติกรรมดังกล่าวเป็นพฤติกรรมผสมระหว่างหนอนกออ้อย 3 ชนิด คือ หนอนกอลายจุดใหญ่ Chilo tumidicostalis (Hampson) หนอนกอลายจุดเล็ก Chilo infuscatellus Snellen หนอนกอสีขาว Scirpophaga excerptalis (Walker)

    พืชอาหาร และพืชอาศัย
    อ้อยและพงหญ้า

    ความเสียหาย
    จากการเข้าทำลายอ้อยที่จังหวัดนครสวรรค์พบประมาณ 3% ของพื้นที่การระบาด อยู่คละกันกับหนอนกอสีขาว หนอนกอลายจุดเล็ก เปอร์เซ็นต์การทำลายอยู่ระหว่าง 2-3%

    การแพร่กระจาย
    ในเดือนมีนาคม 2546

    ไข่ผีเสื้อลายจุดเล็ก 1 กลุ่ม เฉลี่ย 24 ฟอง
    ไข่ผีเสื้อลายชนิดใหม่ 1 กลุ่ม เฉลี่ย 16 ฟอง
    จำนวนไข่ผีเสื้อลายจุดเล็กมากกว่าไข่ผีเสื้อ หนอนชนิดใหม่ 33.33%

    แหล่งกำเนิด
    พบที่จีนและญี่ปุ่น

    ศัตรูธรรมชาติ
    เหมือนกับหนอนกอชนิดอื่นแต่ก็จะต้องศึกษาอีกครั้งหนึ่ง

    แนวโน้มการระบาด
    สังเกตได้ว่าหนอนตัวใหม่นี้กำลังปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ถ้ามีความชื้นพอเหมาะจะพบการเข้าทำลายมาก ถ้าอากาศแห้งแล้งจะพบน้อย แต่จะต้องเข้าศึกษารายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

    ข้อสังเกต ที่ จ. นครสวรรค์ พบที่ อ.ตากฟ้า ต.อุดม ธัญญา หนองพิกุล อ.พยุหคีรี ต.นิคมเขาบ่อแก้ว และ ต.เขากะลา ส่วนในเขตอื่นยังไม่พบการระบาด และพืชอาหารและพืชอาศัยที่สำคัญคือ พง

  3. แตนเบียนไข่ที่เป็น New Record ใน ประเทศไทย จำแนกชื่อ โดย คุณสุทธิสันต์ พิมพะสาลีชื่อ Telenomus dignus Gahan ที่พบในจังหวัดนครสวรรค์โดยเข้าไปทำลายไข่ของหนอนกอสีขาว มีเปอร์เซ็นต์การทำลายอยู่ระหว่าง 3-4% เป็นแตนเบียนไข่ชนิดใหม่ที่พบในประเทศไทย ยังไม่มีรายงานว่ามีที่ไหนบ้าง

 

โดย ดร.ณัฐกฤต พิทักษ์
สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร