ความต้องการธาตุอาหารของอ้อย

ปริมาณความต้องการธาตุอาหารในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโตของอ้อย

  • ระยะที่ 1หน่ออ้อยที่เจริญมาจากท่อนพันธุ์ อัตราการเจริญช้ามากเพราะต้องอาศัยระบบรากที่แทงออกมาจากท่อนพันธุ์ การหาน้ำและธาตุอาหารในช่วงแรกจึงเกิดขึ้นในอัตราต่ำ (ส่วนใหญ่อาศัยน้ำและอาหารจากท่อนพันธุ์)
  • ระยะที่ 2หน่ออ้อยอายุ 2-3 เดือน หลังจากปลูกมีระบบรากแท้ที่สมบูรณ์ สามารถหาน้ำและอาหารจากดินมาใช้ได้ หน่อเริ่มพัฒนาระบบรากแล้ว จึงควรได้รับธาตุอาหารพวก ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสอย่างเพียงพอ
  • ระยะที่ 3หลังจากอ้อยอายุ 4 เดือน อ้อยมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วมาก เริ่มย่างปล้อง เพิ่มจำนวนปล้อง สร้างใบใหม่ ถ้าต้องการให้มีลำยาวต้องเร่งธาตุอาหารพวกไนโตนเจนเป็นหลัก เสริมด้วยฟอสฟอรัส และโปแตสเซี่ยม
  • ระยะที่ 4 อ้อยโตเต็มที่อายุประมาณ 10 เดือน อ้อยจะหยุดการเจริญเติบโตทางลำต้น และเริ่มสะสมน้ำตาลในปล้อง ดินควรมีไนโตนเจนน้อย และควรมีโปแตสเซี่ยมและน้ำพอประมาณ

การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน

มีอยู่ 5 วิธี

  • ดูจากอาการผิดปกติของพืช
  • วิเคราะห์ดิน
  • วิเคราะห์พืช
  • การใส่ธาตุอาหารควบทุกตัว ยกเว้นธาตุที่จะศึกษา
  • การตอบสนองต่อพืชโดยการใส่ปุ๋ยแบบคร่าว ๆ

ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

  • ขาดธาตุอาหาร
    • ขาดธาตุหลัก
    • ขาดธาตุรอง
    • ขาดจุลธาตุ
  • ธาตุไม่สมดุล

สาเหตุที่ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ

  • วัตถุต้นกำเนิดดินมีธาตุอาหารน้อย
  • มีการสูญเสียธาตุอาหารมากแต่ได้คืนน้อย
  • ธาตุอาหารในดินอยู่ในรูปที่พืชใช้ไม่ได้

การสูญเสียธาตุอาหารจากดิน

  • ธาตุอาหารในดิน
    • พืชดูดไปใช้
    • ถูกชะล้าง-กร่อน
    • เป็นแก๊ส

ประมาณธาตุอาหารที่อ้อยนำออกจากไร่ (อ้อย,ยอดใบแห้ง) กก./ไร่

ธาตุอาหาร ปริมาณธาตุอาหารที่ถูกนำออกไป กก./ไร่
ผลผลิต 20 ตัน/ไร่ ผลผลิต 15 ตัน/ไร่ ผลผลิต 20 ตัน/ไร่ หมายเหตุ
ไนโตรเจน (N) 24.64 19.52 20.48 วิเคราะห์ใบอ้อยจากแหล่งต่างๆ
ฟอสฟอรัส (P) 5.92 2.72 2.40
โปแตสเซียม (K) 44.16 33.38 22.24
แคลเซียม (Ca) 8.80 4.32 4.80
แมกนีเซียม (Mg) 9.12 2.88 4.64
ซัลเฟอร์ (S) 7.52
4.00 4.00
ทองแดง (Cu) 0.01 0.01 0.01
สังกะสี (Zn) 0.09 0.07 0.06
เหล็ก (Fe) 0.88 1.17 1.19
แมงกานีส (Mn) 0.03 0.62 0.78

ปริมาณธาตุอาหารที่ติดไปกับผลผลิต

ธาตุอาหาร
ธาตุอาหารที่ถูกนำออกไปจากไร่ kg/t ค่าเฉลี่ยที่แท้จริง kg/t ค่าเฉลี่ย kg/t
ขั้นต่ำ ขั้นสูง
ไนโตรเจน 0.56 1.2 0.9 1
ฟอสฟอรัส 0.38 0.8 0.6 0.6
โปแตสเซียม 1 2.5 1.8 2
แคลเซียม 0.25 0.6 0.4 0.4
แมกนีเซียม 0.2 0.35 0.28 0.25

ปริมาณธาตุอาหารตามผลผลิต

ถ้าท่านต้องการผลผลิตเพิ่มขึ้นท่านต้องใช้ปุ๋ยตามค่าผลผลิต ดังนี้

ผลผลิต N P2O5 K2O Cao mgo
ตัน/ไร่ kg kg kg kg kg
1 1 0.6 2 0.4 0.25
6 6 3.6 12 2.4 1.5
8 8 4.8 16 3.2 2.0
10 10 6.0 20 4.0 2.5
12 12 7.2 24 4.8 3.0
14 14 8.4 28 5.6 3.5

การแนะนำการใช้ปุ๋ยของออสเตรเลีย

ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม
พักที่ปลูกอ้อย 21.6 – 24 12.8 0-12.8
รื้อตอปลูกใหม่ 33.6–40 12.8 0 - 16
ตอ 33.6–40 6.4 0-16

P2O5 < 10 ppm ใช้ 12.8 กก./ไร่ ในอ้อยปลูก อ้อยตอใช้ 6.4 กก./ไร่
P2O5 11- 20 ppm ใช้ 6.4 กก./ไร่ ในอ้อยปลูก อ้อยตอใช้ 6.4 กก./ไร่
P2O5 21-40 ppm ใช้ 3.2 กก./ไร่ ในอ้อยปลูก อ้อยตอใช้ 3.2 กก./ไร่
P2O5 > 40 ppm ใช้ 3.2 กก./ไร่ ในอ้อยปลูก อ้อยตอไม่ใช้

การเตรียมแปลงพันธุ์

การเตรียมพันธุ์อ้อย

  1. พันธุ์ที่จะนำมาปลูกต้องมาจากแปล่งที่เชื่อถือได้
  2. แหล่งพันธุ์ต้องปลอดจากโรคใบขาว โรคเหี่ยวเน่าแดง
  3. พันธุ์อ้อยต้องเป็นพันธุ์ที่ไม่มีพันธุ์อื่นปน
  4. พันธุ์อ้อยไม่มีหนอนเจาะลำต้น
  5. ควรเป็นอ้อยปลูกใหม่ หรือตอ 1 ที่ดูแลรักษาอย่างดี
  6. อายุ 6-10 เดือน

การตัดพันธุ์และการขนย้ายท่อนพันธุ์

  1. ตัดชิดดิน
  2. ตัดให้มีกาบใบหุ้มตาไว้ ริดใบออกเท่านั้น
  3. การขนย้ายอย่าให้กระทบกระเทือนมาก เพราะตาจะแตก
  4. การตัดพันธุ์ เมื่อตัดแล้วควรรีบปลูกให้แล้วเสร็จ ภายใน 5 วัน ถ้าเกินจากนี้เปอร์เซ็นต์การงอกจะลดลงเรื่อย ๆ

การจัดเตรียมแปลงพันธุ์

  1. ชาวไร่ทุกรายควรจัดทำแปลงพันธุ์ของตนเอง เพื่อให้ได้พันธุ์ที่ต้องการ เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของตนเองปริมาณที่เตรียม 1 ไร่ 15 ตัน สามารถขยายได้ 10 ไร่ ถ้า 1 ไร่ 10 ตัน สามารถขยายได้ 6.5 ไร่
  2. คำนวณเวลาปลูกแปลงพันธุ์ อายุพันธุ์ 8-10 เดือน
    • ถ้าปลูกอ้อยข้ามแล้ง ต.ค.-ธ.ค. ควรปลูกพันธุ์อ้อยในเดือนเมษายน
    • ถ้าปลูกอ้อยรดน้ำ/ต้นฝน ม.ค.-พ.ค. ควรปลูกในเดือนมิถุนายน
  3. วิธีการปลูก
    • เลือกสภาพพื้นที่ ไม่เป็นที่ลุ่ม หรือดอนเกินไปควรเรียบราบ
    • การเตรียมดิน ใช้ริบเปอร์ระเบิดดาน เพื่อให้รากหยั่งลึก หากฝนทิ้งช่วงพันธุ์อ้อยจะไม่กระทบแล้งมากนัก การเตรียมดินไม่ต้องละเอียด เพราะจะทำให้ดินแน่นทึบ
  4. การปลูกแปลงพันธุ์
    • ปลูกด้วยเครื่องปลูก ควรเป็นร่องคู่ การกลบ กลบบางๆ เพราะเป็นช่วงต้นฝน (เครื่องปลูกร่องคู่)
    • รองพื้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์ 16-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ เร่งราก
    • ฉีดพ่นยาคุม (เครื่องมือฉีดยาคุม)
    • ปุ๋ยแต่งหน้าสูตร 15-15-15 อัตรา 40-50 กก./ไร่ ฝังกลางร่อง เมื่ออ้อยอายุ 8-10 สัปดาห์ หลังปลูก (เครื่อง MPI)
    • ฉีดพ่นยาคุม (เครื่องมือฉีดยาคุม)
    • หมั่นตรวจโรคแมลงบ่อย ๆ อย่างน้อย 2 เดือน/ครั้ง ถ้าพบโรคแมลงให้จัดการขุดออก ตัดออก หรือใช้วิธีชีวภาพ หรือใช้สารเคมี แล้วแต่กรณี
    • ช่วงฝนชุกประมาณ เดือนกันยายน ใส่ยูเรียอัตรา 20 กก./ไร่ เพื่อให้อ้อยสมบูรณ์ เมื่อนำไปปลูกจะงอกเร็ว
    • หมดฤดูฝน พรวนดินรอบแปลงกันไฟ