การปรับปรุงพันธุ์อ้อยในปัจจุบัน

ขณะนี้ก็มีอ้อยอีกหลายสายพันธุ์ที่น่าสนใจ ได้แก่ 94-2-483, 95-2-156, 98-2-603, 99-2-168 และ R2-00-223 ในปี 2542-43  ศูนย์ได้ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์อ้อย โดยผสมข้ามชนิด (Interspecific Cross) โดยใช้ S. spontanium และ ผสมข้ามสกุล (Intergeneric Cross) โดยใช้ Erianthus และผสมกลับไปยัง S. officinarum  ขณะนี้มีสายพันธุ์ที่น่าสนใจ คือ สายพันธุ์ 03-2-003 (BC4), 15-13 / 1 และ RT2001-1800 (BC3) นอกจากนี้ศูนย์ยังปรับปรุงพันธุ์ โดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้พันธุ์ที่น่าสนใจ คือ สายพันธุ์ UT 1-8-1, PU-12 และ PE-18 พันธุ์ต่างๆ เหล่านี้ขณะนี้อยู่ในระหว่างการปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ในท้องถิ่นต่างๆ

สิ่งที่ต้องรู้ในการปรับปรุงพันธุ์อ้อย

  • เลือกพ่อแม่พันธุ์ที่ดี โดยศึกษาจากประวัติ
  • เทคนิคในการคัดเลือก อาศัยความรู้และประสบการณ์

วัตถุประสงค์ของการปรับปรุงพันธุ์อ้อย

ได้พันธุ์ที่ให้ผลผลิตและคุณภาพสูง เป็นที่ยอมรับของชาวไร่และโรงงานน้ำตาล ทนทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญในแหล่งปลูกนั้นๆ มีความสามารถในการหีบได้สูง
สามารถไว้ตอได้นาน มีการสุกแก่เกิดขึ้นพร้อมเพรียงกัน และสามารถรักษาระดับน้ำตาลและคุณภาพในลำอ้อยอยู่ได้นาน พันธุ์อ้อยที่ดีต้องไม่มีแป้งและยาง (gum) มาก มีค่าเพียวริตี้สูง สามารถเคี่ยวให้ใสได้ง่าย

การผสมพันธุ์อ้อย

Bi-parental cross
(close Breeding System)
Poly cross
(ระบบการผสมหมู่)
Open pollination

วิธีการ
ตอนทั้งต้นตัวผู้และตัวเมีย มีถุงคลุมเวลาผสมพันธุ์

ดอกต้นแม่เริ่มบาน 25 % ต้นพ่อที่มีช่อดอกบานประมาณ 60 % ใช้ผสมอัตราส่วน 1 : 3 (ช่อต้นแม่ต่อช่อต้นพ่อ)
ผสมแล้ว 2 สัปดาห์ นับตั้งแต่วันเริ่มผสม ช่อดอกจะเริ่มฟู ใช้ถุงกระดาษคลุมไว้ 2 สัปดาห์แล้วตัดมาตากแดด 1-2 วันแล้วนำไปเพาะ

การเพาะเมล็ดอ้อย

วัสดุเพาะใช้ดินผสมขี้เถ้าแกลบและปุ๋ยคอก โดยผ่านการฆ่าเชื้อ 4-10 วัน เริ่มงอก
แยกปลูกในถุงพลาสติก ประมาณ 3-4 เดือน ย้ายปลูกในไร่ต่อไป

วิธีการคัดอ้อยพันธุ์ผสม

Picture1

 

อ้อยพันธุ์ต่างๆ ที่น่าสนใจในปัจจุบัน

K 84-200 (Roc 1 X CP 63-588)  อู่ทอง 3 (อู่ทอง 1 X อู่ทอง 2) K 92-213 (K 84-200 X K93-74)  94-2-483 (85-2-352 X K 84-200)
K 93-219 (อู่ทอง 1 X อีเหี่ยว)  อู่ทอง 6 (87-2-973 X 83-2-888) K 93-347 (อู่ทอง 1 X K 84-200)  95-2-156 (K 84-200 X อู่ทอง 3)
ปัจจุบันจะเห็นว่า อ้อยพันธุ์ดีเด่นจากหน่วยงานต่างๆ พันธุ์ที่ได้เกิดจากการผสมพันธุ์จากอ้อยที่มีสายเลือดใกล้ชิดกันมาก (Close Breeding System)

โดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สร้างความผันแปร โคลนพันธุ์อ้อยคัดเลือก โดยใช้สูตร สารอาหารที่มีสาร poly ethylem glycol เป็นการจำลองสภาพความแห้งแล้งในหลอดทดลอง ได้โคลนพันธุ์อ้อยทนแล้ง จำนวนหนึ่ง

การใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในการปรับปรุงพันธุ์อ้อย

  • การปรับปรุงพันธุ์อ้อยเพื่อทนดินเค็ม
  • การปรับปรุงพันธุ์อ้อยเพื่อทนแล้ง

วิธีการ

นำใบอ่อนอ้อยมาเลี้ยงบนสูตรอาหาร ชักนำให้เกิดแคลัส และชักนำให้เกิดต้นและราก ในสูตรอาหารใส่โซเดียมแคไรด์ เพื่อให้ได้อ้อยที่ทนเค็ม และใส่ polyethylene glycol เพื่อคัดเลือกให้ได้อ้อยที่ทนแล้งและนำไปประเมินในแปลงทดลอง โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2536-37 ขณะนี้กำลังทดสอบในไร่เกษตรกร ปัจจุบันมีโคลนที่มีศักยภาพทนดินเค็ม 3 โคลนพันธุ์ คือ

Picture11 Picture12

Picture13

UT1-8-1 UT1-8-2 UT1-8-3

 

Picture14 Picture15 Picture16
UT1-8-1 UT1-8-2 UT1-9-1

ในสภาพดินเค็ม ผลผลิตเฉลี่ย 2 ปี ของอ้อยทั้ง 3 พันธุ์ 13 ตัน/ไร่ ความหวาน 12-13 ซี.ซี.เอส. โดยเฉพาะสายพันธุ์ UT1-8-1 สามารถทนแล้งได้ดีอีกด้วย ในขณะที่พันธุ์อื่นๆ ให้ผลผลิตต่ำกว่า

 

โคลนที่มีศักยภาพทนแล้ง 4 โคลนพันธุ์ คือ

PU1 (เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยใช้อ้อยพันธุ์อู่ทอง1) PU12 (เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยใช้อ้อยพันธุ์อู่ทอง1)
PE1 (เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยใช้อ้อยพันธุ์อีเหี่ยว) PE18 (เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยใช้อ้อยพันธุ์อีเหี่ยว)

ในสภาพแห้งแล้ง ผลผลิตเฉลี่ย 2 ปี ของอ้อยทั้ง 4 พันธุ์ ประมาณ 12 ตัน/ไร่ ความหวาน 14-16 ซี.ซี.เอส.สูงกว่าอ้อยพันธุ์อื่นในสภาพเดียวกัน

 

อ้อยพันธุ์ดีเด่นและน่าสนใจ

 

อู่ทอง 3 (อู่ทอง 1 X อู่ทอง 2)

Picture17 ผลผลิต ในเขตชลประทาน 17.19 ตัน/ไร่
ในเขตใช้น้ำฝน 13.54 ตัน/ไร่
ความหวาน ในเขตชลประทาน 15.01 C.C.S.
ในเขตใช้น้ำฝน 14.29 C.C.S.
การแตกกอ ปานกลาง (4-5 ลำ/กอ)
การไว้ตอ
ดี
การเจริญเติบโต เร็ว
ต้านทาน โรคแส้ดำ อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง
ต้านทานหนอนกออ้อย
ดินที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย

 

 

อู่ทอง 6 (87-2-973 X 83-2-888)

Picture18

ผลผลิต ในเขตน้ำเสริม (จากบ่อบาดาล, จากบ่อ) 18.04  ตัน/ไร่
ในเขตชลประทาน 14.25  ตัน/ไร่
ในเขตใช้น้ำฝน 10.61  ตัน/ไร่
ความหวาน ในเขตน้ำเสริม  13.59 C.C.S.
ในเขตชลประทาน 14.16 C.C.S.
ในเขตใช้น้ำฝน  14.04 C.C.S.
การแตกกอ ปานกลาง (4-5 ลำ/กอ)
การไว้ตอ ปานกลาง  การเจริญเติบโต เร็วมาก
ต้านทานโรคแส้ดำ ปานกลาง
อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง
ต้านทาน หนอนกออ้อย ปานกลาง
ดินที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย

 

94-2-483 (85-2-352 X K 84-200)

Picture19 ผลผลิต ในเขตชลประทาน  17.43 ตัน/ไร่
ในเขตใช้น้ำฝน  13.11 ตัน/ไร่
ความหวาน ในเขตชลประทาน  14.88 C.C.S.
ในเขตใช้น้ำฝน  13.28 C.C.S.
การแตกกอ ปานกลาง (4-5 ลำ/กอ)  ไว้ตอดี
การเจริญเติบโต เร็ว
ต้านทานโรคแส้ดำ โรคเหี่ยวเน่าแดงปานกลาง
ดินที่เหมาะสม ดินร่วน, ดินร่วนปนทราย