อ้อย

ประวัติการปลูกอ้อยในไทย

นำเข้าจากต่างประเทศ (~ 1,000 ปี) 2450-2501 ชลบุรี (มี พ.ท.ปลูก~ 53,000 ไร่)
มีการทำน้ำตาลในสมัยกรุงสุโขทัย (โดยชาวจีน)
2470 ผลิตน้ำตาลทรายขาวปี
ผลิตน้ำตาลทรายแดงในรัชสมัยร.3 ร.4 (นครไชยศรี จ.นครปฐม) 2478 ภาคเหนือ (เกาะคา จ.ลำปาง)
พ.ศ. 2365 ส่งออกน้ำตาล ~ 5,000 ตัน ปัจจุบันมีโรงงานน้ำตาล > โรง ผลิตได้ > ตัน/ปี

สภาพดินฟ้าอากาศ

ภูมิอากาศ เขตร้อน Lat. 35 องศา เหนือและใต้ ช่วงเก็บเกี่ยว (4-6 สัปดาห์) cool and dry
แสงแดด ต้องการแสงมาก อายุ 7 เดือนแรก long warm summer
ดิน หน้าดินลึก > 50 ซ.ม.เนื้อ ดิร่วนปนทราย - ร่วนปนทราย อุณหภูมิ < 21 องศา ซ. จะชงักการเจริญเติบโต
ฝน 1,000 - 1,500 ม.ม./ปี ช่วงแสง short day plant (พัฒนาช่อดอก~10 สัปดาห์)
อุณหภูมิเฉลิ่ย ~ 30 องศา ซ. ลม มีผลต่อการสังเคราะห์แสงและการคายน้ำ

การเจริญเติบโตของอ้อย

แบ่งออกเป็น 4 ระยะใหญ่ๆ

  • อ้อยเริ่มงอก (Emergence) 2-3 สัปดาห์แรกหลังปลูก หน่อโผล่พ้นดิน
  • เริ่มแตกกอ (Tillering) 1 เดือนหลังปลูกและแตกกอ สูงสุด~ 2.5 - 4 เดือน
  • ย่างปล้อง (Stem elongation) 3- 4 เดือนหลังปลูกและ 7 - 8 เดือน boom stage
  • สุกแก่ (Maturity) 9 - 12 เดือนหลังปลูก

การสร้างน้ำตาลของอ้อย

  • สร้างน้ำตาล glucose จากการสังเคราะห์แสงแบบ C4- pathway
  • สังเคราะห์น้ำตาล sucrose จาก
  • glucose + fructose = sucrose
    C6H12O6 C6H12O6 C12H22O11 + H2O
  • ประสิทธิภาพ : สร้างน้ำตาล 1 ช้อน ในเวลา 36 ช.ม./พ.ท.ใบ 57 ต.ร. ซ.ม.
  • อ้อยสร้างน้ำตาลจากส่วนโคนไปหายอด

การออกดอกของอ้อย

  • ออกดอก~ 8 -10 เดือนหลังจากปลูกในสภาพช่วงแสงสั้น (short day plant)
  • ใช้เวลา ~ 20 -30 วันจากเกิดตาดอกถึงช่อดอกโผล่
  • เมื่ออ้อยออกดอกจะชงักการเจริญเติบโตทางลำต้นและยับยั้ง apical dominance ตาข้างเจริญเป็นแขนง การสร้างน้ำตาลลดลง
  • เกิดใส้ในลำต้น เพิ่มเยื่อใย น้ำหนักลดลง

พันธุ์อ้อย

  • ก่อนปี 2529 ใช้พันธุ์จากต่างประเทศ เช่น Q 83, F 156, F 140 ฯลฯ
  • หลังปี 2529 ใช้พันธุ์จากในประเทศ เช่น พันธุ์อู่ทอง1 พันธุ์ K 84-200
  • พันธุ์รับรองจากกรมวิชาการเกษตร
    • ปี 2526 พันธุ์ ชัยนาท 1
    • ปี 2529 พันธุ์ อู่ทอง 1
    • ปี 2536 พันธุ์ อู่ทอง 2
    • ปี 2541 พันธุ์ อู่ทอง 3
    • ปี 2543 พันธุ์ อู่ทอง 4

ความต้องการธาตุอาหารของอ้อย

Nitrogen

  • ต้องการสม่ำเสมอยกเว้นเมื่อใกล้เก็บเกี่ยว
  • ถ้าขาด ลำต้นเล็ก น้ำหนักน้อย ความหวานลดลง
  • อ้อยปลูกตอบสนองได้ดีกว่าอ้อยตอ
  • แนะนำ ใส่ 8-12 ก.ก. N/ร่ (อ้อยปลูก, ชลประทาน) และ 12-24 ก.ก. N/ไร่ (อ้อยตอ, ชลประทาน)

Phosphorus

  • พบในเนื้อเยื่อเจริญ
  • ใช้ในการเจริญเติบโตของราก การแตกหน่อ
  • ถ้าขาด รากจะเล็กและแตกแขนงน้อย หน่ออ่อนตาย
  • อ้อยตอบสนองเมื่อมี P2O5 อยู่ในช่วง 6 - 10 ก.ก. /ไร่

Potassium

  • ช่วยในการสังเคราะห์แสง เคลื่อนย้ายน้ำตาล ให้คุณภาพน้ำตาลดี
  • ขาดแล้วลำต้นแคระแกรน
  • อาการใบแก่มีจุดสีเหลืองส้มถึงสีน้ำตาลและแห้งตาย จากปลายใบสู่แกนกลางแกนใบและมีสีแดง
  • ดินเหนียวและร่วนเหนียวภาคกลางแนะนำใส่ 5-10 ก.ก. K2O/ไร่ ภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือใส่ 15-20 ก.ก. K2O/ไร่

การพิจารณาใส่ปุ๋ยแก่อ้อย

  • พิจารณาจากอาการขาดธาตุอาหาร (ต้องชำนาญ)
  • วิเคราะห์ส่วนต่างๆของอ้อย
    • การทำ Crop logging
    • การทำ Stalk logging
    • วิธี Jamaica method
  • การวิเคราะห์ดิน
  • จากผลการทดลองปุ๋ย

การผลิตอ้อย

ฤดูปลูก เดือน แหล่งปลูก อายุอ้อยเมื่อตัด
ต้นฤดูฝน พ.ค. - ก.ค.
ภาคกลาง 8 - 10 เดือน
ปลายฝน พ.ย. - ม.ค.
ภาคตะวันออก ~12 เดือน
ต.ค. - ธ.ค.
ภาคตะวันออกฉ.เหนือ
~12 เดือน
ฤดูแล้ง ก.พ. - เม.ษ.
พื้นที่ชลประทาน 8 - 12 เดือน

การเตรียมดิน

เตรียมดินดี ปลูก 1 ครั้ง ไว้ตอ เก็บเกี่ยวได้ถึง 3-4 ครั้ง ปัจจุบัน มีการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรติดตั้งกับรถไถ ปฏิบัติการตั้งแต่การพรวนสับเศษซากอ้อย ปรับหน้าดินให้เรียบ ไถระเบิดดินดาน (กรณีที่มี) ไถบุกเบิก (กรณีพื้นที่ใช้ไถแบบจาน 3-4 ผาล และไถแบบจานเหลี่ยมหรือหัวหมูกับพื้นที่ที่ปรับปรุงแล้ว พรวนดินและยกร่อง ระยะ~ 1.4-1.5 เมตร ใส่ปุ๋ยรองพื้น สูตรสมบูรณ์ เช่น 15-15-15, 14-9-0, 16-11-14 เป็นต้น อัตรา 50-100 ก.ก. /ไร่ (ขึ้นอยู่กับดิน)

การเตรียมท่อนพันธุ์

  • เลือกท่อนพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ จากแปลงที่มีความสม่ำเสมอตรงตามพันธุ์ อายุประมาณ 8 เดือน
  • ปราศจากโรคและแมลง ป้องกันโดยชุบน้ำร้อน 50 ๐ ซ. 2 ช.ม. หรือ 52๐ ซ. 1/2 ช.ม. ( กันโรคใบด่าง โรคตอแคระแกรน โรคกลิ่นสัปปะรด โรคใบขาว โรคกอตะไคร้ )
  • ใช้ปุ๋ย N อัตรา 10-20 N/ไร่ ก่อนตัดช่วยให้อ้อยงอกดีและ ทำให้หน่ออ้อยแข็งแรง
  • ท่อนพันธุ์ที่มีการขนส่ง ไม่ควรลอกกาบใบ
  • อ้อยจากแปลง 1ไร่ (อายุ 7-8 เดือน) ปลูกขยายได้ 10 ไร่

การปลูก

การวางท่อนพันธุ์ห่าง ระหว่างจาก จุดกลางท่อน ~ 5 ซ.ม. หน้าฝนกลบตื้น ~ 2.5 ซ.ม. หน้าแล้งกลบ ~ 5 ซ.ม ที่ชื้นแฉะควรปักเฉียง ~ 45 ๐

การปฏิบัติดูแลรักษา

การให้น้ำ

  • ต้องการน้ำสม่ำเสมอ ยกเว้นก่อนการเก็บเกี่ยว
  • อ้อยไม่ชอบน้ำขัง วัชพืชขึ้นง่าย CCS ต่ำ

การกำจัดวัชพืช

มีผลต่อการเจริญเติบโตโดยเฉพาะเมื่ออ้อยอายุ 1-2 เดือน กำจัดโดย

  • เขตกรรม
  • ปลูกพืชแซม
  • ใช้ไฟเผา (หลังเก็บเกี่ยว)
  • ใช้วัสดุคลุมดิน
  • ใช้สารเคมี

การปลูกซ่อม

ทำภายใน 2-3 สัปดาห์

การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 (ปุ๋ยแต่งหน้า)

เมื่ออ้อยอายุ ~ 2 เดือน (เริ่มย่างปล้อง) ใช้ปุ๋ย N อย่างเดียว เช่น Urea 46% อัตรา50-100 ก.ก./ไร่ บางแห่ง (ชลบุรี) มีการพูนโคนเรียกว่า “ทำป๋วย”

การบำรุงอ้อยตอ

อ้อยปลูก (plant cane) สามารถไว้ตอเก็บเกี่ยวเป็น อ้อยตอ (ratoon cane) ได้ถึง 2-3 ครั้ง มีวิธีบำรุง เช่นต่อไปนี้

  • ไม่เผาอ้อยหลังเก็บเกี่ยว คราดเอาใบกองระหว่างแถว
  • ถากส่วนเหนือดินให้ชิดดิน (ควรให้หน่อจะเกิดจากกอใต้ดิน)
  • ใช้ไถสิ่ว (ripper) ลงระหว่างแถว ตามด้วยจอบหมุนตีดิน
  • ใส่ปุ๋ยตอนลง ripper สูตรสมบูรณ์ เช่น 15-15-15, 16-11-4, 14-9-20, 14-14-21 ฯลฯ อัตรา 100-200 ก.ก/ไร่ (อัตราใส่มากกว่าอ้อยปลูก)
  • การบำรุงตอให้ทำทันทีหลังเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยวอ้อย

  • การปลูกอ้อยต้องมีการวางแผนให้สัมพันธ์กับโรงงานหีบอ้อย (ช่วงอ้อยแก่ ~ เดือน พ.ย.-เม.ย.) โดยทั่วไปปฏิบัติดังนี้
  • ควรมีโควต้าจากโรงงาน
  • ไม่ควรอยู่ห่างจากโรงงาน 50 ก.ม. (เขตอนุญาตของกระทรวงเกษตรฯ)
  • เลือกพันธุ์อ้อยให้พอดีกับรอบการตัด (crop cycle) เหลื่อมการ ปลูกและทะยอยตัดเป็นแปลงๆ
  • ตัดตอนอ้อยแก่เต็มที่ก่อนอ้อยออกดอก (มีข้อสังเกตคือ ใบที่ยอดจะเรียง ชิดติดกัน ใบสีเขียวอมเหลืองคล้ายขาดธาตุ N)
  • ก่อนตัดควรวิเคราะห์น้ำตาล ซูโครส ความหวานใกล้เคียงทั้งลำ
  • อากาศที่หนาวแห้งและมี N น้อย อ้อยจะสุกเร็วขึ้น
  • ควรงดการให้น้ำ 1 เดือน ก่อนการเก็บเกี่ยว

การตัดอ้อย

  • ก่อนตัดควรริดใบออกแล้วตัดด้วยมีดหรือจอบให้ชิดดิน
  • ไม่ควรเผาอ้อยก่อนตัดถ้าไม่จำเป็น
  • ตัดยอดจากจุดหักธรรมชาติ
  • ตัดแล้วต้องรีบส่งโรงงาน

การทิ้งเวลาก่อนเข้าโรงงานนานเกินไปจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของอ้อยคือ น้ำตาลซูโครส เปลี่ยนเป็น กรดอินทรีย์ (lactic) โดย bacteria : Lactobacillus, Leuconostic, Bacillus ปลดปล่อยสาร dextran ออกมา

การซื้อขายอ้อย

มี 2 ระบบ

  • ซื้อขายตามน้ำหนัก
  • ซื้อขายตามคุณภาพ CCS (Commercial Cane Sugar)

    CCS (Commercial Cane Sugar) = ปริมาณน้ำตาล คิดเป็นร้อยละของอ้อยหนัก 1 ตัน เช่น CCS 10 หมายถึง อ้อย 1 ตัน มีน้ำตาลพานิชย์ 100 ก.ก. CCS 13 หมายถึง อ้อย 1 ตัน มีน้ำตาลพานิชย์ 130 ก.ก. CCS คำนวณจากการวิเคราะห์คุณภาพอ้อย ด้วยสูตรดังนี้
    CCS = Pol in cane - Impurity /2
    โดยที่ Pol in cane = ค่า ร้อยละโดยน้ำหนักของน้ำตาลซูโครสในน้ำอ้อย
    Impurity = ค่าร้อยละของซูโครสกับ บริกซ์ในน้ำอ้อย

ศัตรูอ้อย

  • โรค : เกิดจากเชื้อรา ไวรัส เช่น โรคเหนี่ยวเน่าแดง โรคแส้ดำ โรคใบขาว โรคกอตะไคร้ โรคใบขีดและยอดเน่า โรคเน่าคอดิน โรคกลิ่นสับปะรด โรคลำต้นเน่า โรคเหี่ยว
  • แมลง : แมลงหวี่ขาว หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอลายจุดใหญ่ หนอนกอสีขาว หนอนกอสีชมพู เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้งสีชมพู เพลี้ยสำลี เพลี้ยกระโดดดำ เพลี้ยกระโดด ด้วงกินราก ตั๊กแตน ปลวก ด้วงหนวดยาว ด้วงขี้ควาย
  • วัชพืช : หญ้าตีนกา หญ้าตีนกาใหญ่ หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนนก หญ้าโขมง แห้วหมู หญ้าตีนติด ผักโขมหนาม สาบแร้งสาบกา ผักยาง ผักโขมธรรมดา น้ำนมราชสีห์ กะเพราผี