การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี GAP

GAP (Good Agricultural Practices)

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี

การปฏิบัติของผู้ผลิตอาหารในขั้นต้น (เช่น เกษตรกร และชาวประมง) ที่จำเป็นที่จะผลิตอาหาร ที่มีคุณภาพเป็นไปตามคำแนะนำ มาตรฐาน กฎระเบียบข้อบังคับ กฎหมาย

GMP (Good Manufacturing Practices)

การปฏิบัติในการผลิตอาหารที่ดี

การปฏิบัติของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร ตามเกณฑ์หรือข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและการควบคุม ให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามและทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย และ คุณภาพ ให้เป็นไปตามกฎระเบียบ และ กฎหมายอาหาร

* เน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงใดๆ ที่ทำให้อาหารเป็นพิษ เป็นอันตราย หรือเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point)

ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม

ในการผลิตอาหาร เพื่อป้องกันอันตรายจากจุลินทรีย์ สารเคมี และสิ่งปนเปื้อน ที่อาจเกิดขึ้นในอาหาร

* เป็นระบบลดความเสี่ยงของอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในอาหารให้เหลือน้อยที่สุด แต่ไม่ใช่ระบบที่จะขจัดความเสี่ยงให้หมดไปได้

มาตรฐานสินค้าเกษตร

หมายถึง ระเบียบหรือแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะต่างๆ ของตัวสินค้าเกษตร วิธีและขั้นตอนการผลิต รวมถึงการดำเนินการเกี่ยวกับสุขลักษณะ ความปลอดภัย มาตรฐานจะต้องเกิดจากการร่วมกันระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค และต้องได้รับการยอมรับจากทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อให้มาตรฐานถูกนำมาใช้เป็นบรรทัดฐานในการดำเนินการทางการผลิตสินค้าเกษตรนั้น ๆ

ปัญหาสุขอนามัยในสินค้าเกษตรและอาหาร

  • คุณภาพวัตถุดิบ
  • สารตกค้าง
  • สารปนเปื้อน
  • ระบบการจัดการและ ควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต
  • การบรรจุหีบห่อ
  • การเก็บรักษา

กระบวนการในการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย

  • กำหนดมาตรฐาน
  • ส่งเสริมการผลิตตามมาตรฐาน
  • ให้การตรวจสอบรับรอง
  • ทวนสอบระบบการรับรอง

บทบาทกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้านความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหาร

กิจกรรม พืช ปศุสัตว์ ประมง
กำหนดมาตรฐาน มกอช.
ส่งเสริมการผลิตตามมาตรฐาน การส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง
ให้การตรวจสอบรับรอง กรมวิชาการเกษตร
ทวนสอบระบบการรับรอง มกอช.