บทบาทของแมลงศัตรูธรรมชาติในไร่อ้อย

บทบาทของแมลงศัตรูธรรมชาติในไร่อ้อย (Role of Natural Enemies in Sugarcane Field)

แมลงศัตรูธรรมชาติสำคัญ

  1. แตนเบียน
    1. แตนเบียนไข่ (Trichogramma spp.)
      ทำลายไข่ผีเสื้อเจาะลำต้นอ้อยมากกว่า Trichogramma spp. 26.74% และมีการทำลายร่วมกัน 25.70%

      การใช้แตนเบียนไข่ที่มีประสิทธิภาพ

      • สำรวจในไร่อ้อย ถ้าพบไข่ให้ปล่อยแตนเบียนไข่ จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด
      • อัตราการปล่อยอย่างต่ำ 12,000 ตัว/ไร่
      • อัตราส่วนตัวผู้ : ตัวเมียต้องเหมาะสม (ตัวเมียมากกว่าตัวผู้)
      หลังจากปล่อยแตนเบียนไข่ไปแล้ว เปอร์เซ็นต์แตนเบียนไข่ในธรรมชาติ เพิ่มขึ้นจาก 9.29% เป็น 34.86% (2543) ปี 2544 = 0% เป็น 50%

    2. แตนเบียนหนอน (Cotesia sp.)

      เปรียบเทียบการทำลายของแตนเบียนหนอน

      ก่อนปล่อย มีแตนเบียนทำลาย 21.11%
      หลังปล่อย มีแตนเบียนทำลาย 38.49%

      เพิ่มขึ้น 17.38%

      การใช้แตนเบียนหนอนที่มีประสิทธิภาพ

      • สำรวจพบหนอนในวัย 2 - 4 ให้ผลดีที่สุด
      • ต้องปล่อยทุกอาทิตย์
      • อัตราส่วนตัวผู้ : ตัวเมียต้องเหมาะสม (ตัวเมียมากกว่าตัวผู้)

    3. แตนเบียนดักแด้(ยังไม่ทราบชื่อ)

      แตนเบียนไข่มวนอ้อย (Encyrtidae)
      ไส้เดือนฝอย ศัตรูธรรมชาติของหนอนกอลายจุดเล็กที่ จ.นครสวรรค์
      แตนเบียนไข่ตั๊กแตน (Scelio facialis) เป็น parasite ของไข่ตั๊กแตน
      หมาร่าเบียนตัวอ่อนตั๊กแตน (Sphex viduatus Christ.) เป็น parasite ของตัวอ่อนตั๊กแตน

  2. ตัวห้ำ ที่พบในไร่อ้อย
    1. มด

      มดในไร่อ้อยมีประมาณ 8 ชนิด กินไข่เป็นกลุ่มๆ ละ 4-5 ตัว กินไข่หนอนภายใน 2-3 นาที

    2. มวน

      มวนพิฆาต (Eocanthecona furcellata Wolff)
      กินไข่เป็นกลุ่มเช่นเดียวกับมด มวนพิฆาต 1 ตัว กินหนอนได้ 7 ตัว/วัน

      มวนเพชฌฆาต (Sycanus collaris Fabricius)
      มวนเพชฌฆาต 1 ตัว กินหนอนได้ 5.6 ตัว/วัน

    3. แมลงหางหนีบ ในไร่อ้อยพบ 2 ชนิด
      • ชนิดสีน้ำตาลเข้ม
        ชอบกินหนอนมากกว่ากินไข่ กินหนอนได้ 0.21 ตัว/วัน
      • ชนิดสีน้ำตาล (Proreus simulans stallen)
        ชอบกินไข่มากกว่ากินหนอน กินหนอนได้ 0.06 ตัว/วัน

      ศัตรูธรรมชาติ คือ แมลงหางดีด

      การใช้เชื้อแบคทีเรีย (AIZAWAI)

      • พ่นด้วยเครื่องแรงดันน้ำสูง
      • ได้ผลดีในหนอนวัย 1 - 2
      • ถ้าใช้กับหนอนวัย 4 - 5 จะได้ผล 40%

  3. เชื้อแบคทีเรีย

    ไส้เดือนฝอย ได้ผลในห้องปฏิบัติการในสภาพไร่ใช้ไม่ได้

    วิธีการเลี้ยงขยายพันธุ์แตนเบียนไข่

    • ปล่อย 20,000 ตัว/ไร่/5 จุด
    • เลี้ยงต้องใช้ผีเสื้อข้าวสาร
    • อัตราส่วน : ประมาณ 1:3

    วิธีการเลี้ยงขยายพันธุ์แตนเบียนหนอน

    • ใช้ปล่อย 100-500 ตัว/ไร่ ทุกอาทิตย์
    • เลี้ยงต้องใช้หนอน

    ตารางการระบาดของหนอนเจาะลำต้นอ้อยปี 2544

    จังหวัด
    %การระบาด(ของพื้นที่) %การทำลาย
    บุรีรัมย์
    1.5 3.5
    นครราชสีมา
    2.3 5-10
    ลำปาง
    3.0
    15
    สุพรรณบุรี 0.5 2-7

ผลการดำเนินงาน

พื้นที่การระบาดลดลง แตนเบียนไข่และแตนเบียนหนอนเพิ่มขึ้น