พัฒนาชาวไร่ให้ปลูกอ้อยที่ยั่งยืน

  1. ยุทธศาสตร์การจัดการพื้นที่ไร่อ้อย ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์วางแผน ส่งเสริม มุ่งเน้นแหล่งดินดี ใกล้โรงงานโดยมียุทธวิธีในการดำเนินการดังนี้
    1. ประชุมกลุ่มผู้มุ่งหวังในพื้นที่เป้าหมาย
    2. โครงการจุดชนวน
    3. จัดส่วนลดพิเศษในการเตรียมดิน
  2. ยุทธศาสตร์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ งานวิจัยและพัฒนาเพื่อ เพิ่มผลผลิต และลดต้นทุน มีงานวิจัยดังนี้
    1. ด้านพันธุ์อ้อย ร่วมมือกับส่วนราชการในการทดสอบพันธุ์
    2. ด้านปุ๋ย ทดลองปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดในจังหวัดสระแก้ว
    3. ด้านเครื่องจักรกล ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology : AIT) วิจัยเครื่องขึ้นอ้อย
    4. ด้านเขตกรรม วิธีการปฏิบัติเพื่อลดต้นทุน
    5. การควบคุมศัตรูพืชโดยเน้นชีววิธี
  3. ยุทธศาสตร์เพิ่มความสามารถในการผลิตของชาวไร่
    1. ส่งเสริมให้ชาวไร่มีเครื่องมือ อุปกรณ์การเกษตรเป็นของตนเอง
    2. ส่งเสริมแหล่งน้ำ
    3. ส่งเสริมระบบการให้น้ำ
  4. ยุทธศาสตร์เพิ่มศักยภาพในการผลิตของชาวไร่
    1. ฝึกอบรมพนักงานให้มีทักษะความรู้
    2. ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมแก่ชาวไร่
      • โครงการหมู่บ้านเพิ่มผลผลิต
      • โครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เขต 3
      • โครงการไตรภาคี ร่วมกับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ในการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน
  5. ยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการ
    1. ปรับปรุงศูนย์ส่งเสริม 10 เขต ให้อยู่ศูนย์กลางของชาวไร่ มีการเชื่อมโยงกับส่วนกลางโดยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    2. เชื่อมโยงระบบการขนส่งโลจิสติกส์
    3. ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการวางแผนส่งเสริมการปลูก การใช้พันธุ์อ้อย การควบคุมโรคแมลง
    4. สร้างชาวไร่ GAP
    5. การให้บริการจักรกลกับชาวไร่รายเล็ก
  6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาดิน
    1. เน้นการปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ มีโรงปุ๋ยผลิตปุ๋ยอินทรีย์
    2. ประสานงานกับสถานีพัฒนาที่ดินในการใช้พืชปุ๋ยสดบำรุงดิน